1. ประมวลพื้นที่การก่อสร้าง พ.ศ.2566 ( ก.ส.66) วัตถุประสงค์ : เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำบัญชีประชาชาติรายไตรมาสและรายปี และจัดทำดัชนีชี้วัดด้านที่อยู่อาศัยและภาวะการก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ในการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจและเป็นข้อมูลเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับภาคเอกชนใช้ประกอบการตัดสินใจในการลงทุน ระยะเวลาดำเนินการ : 1 - 10 ธ.ค. 2566 |
2. สำรวจข้อมูลพื้นฐานของครัวเรือน พ.ศ.2567 ( สพค.67) วัตถุประสงค์ : เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของครัวเรือนทุกครัวเรือน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการสำรวจโครงการต่างๆ ต่อไป ระยะเวลาดำเนินการ : 1 - 25 ธ.ค. 66 |
3. สำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2566 ( สศส.66) วัตถุประสงค์ : เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลที่สำคัญด้านเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน เช่น รายได้ ค่าใช้จ่าย ภาวะหนี้สิน ทรัพย์สิน โครงสร้างของสมาชิกในครัวเรือน ลักษณะที่อยู่อาศัย การย้ายถิ่น และการส่งเงิน ตลอดจนการได้รับ สวัสดิการ/ความช่วยเหลือจากรัฐ และใช้บริการของภาครัฐ เป็นต้น ระยะเวลาดำเนินการ : 7-20 ธ.ค. 2566 |
4. สำรวจภาวะการทำงานของประชากร พ.ศ. 2566 ผนวกสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2566 และการสำรวจการย้ายถิ่นของประชากร พ.ศ.2566 ( สรง./สทค./ย้ายถิ่น ) วัตถุประสงค์ : เพื่อประมาณจำนวนและลักษณะของกำลังแรงงานในแต่ละไตรมาส ข้อมูลสถิติที่ได้จากการสำรวจ ได้แก่ จำนวนประชากรในวัยทำงาน (อายุ 15 ปี ขึ้นไป) ผู้มีงานทำ ผู้ว่างงาน จำแนกตามลักษณะที่น่าสนใจ เช่น อายุ เพศ การศึกษา ที่สำเร็จ อาชีพ อุตสาหกรรม สถานภาพ การทำงาน ชั่วโมงทำงาน ค่าจ้าง เป็นต้น และเพื่อทราบจำนวนประชาชนที่ใช้อินเทอร์เน็ต จำนวนประชาชนที่ใช้โทรศัพท์มือถือ ประเภทโทรศัพท์มือถือ และการมีโทรศัพท์มือถือ เพื่อทราบจำนวนครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์ มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และมีโทรศัพท์มือถือ และสำรวจการย้ายถิ่นของประชากรในจังหวัดกระบี่ ระยะเวลาดำเนินการ : 1 - 12 ธ.ค. 2566 |
5. การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับนโยบายเติมเงิน 10,000 Digital Wallet ( -) วัตถุประสงค์ : คู่มือการปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูล การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับนโยบายเดิมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet (เงินดิจิทัล 10,000 บาท) 1. ความเป็นมา ตามที่รัฐบาลนำโดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้กำหนดนโยบายเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายรายได้ให้แก่ประชาชน และกระตุ้นเศษฐกิจของประเทศ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของ ประชาชนเกี่ยวกับนโยบายเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet (เงินดิจิทัล 10,000 บาท) 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร/ข้อมูลต่าง ๆ ของรัฐบาล 2.2 เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผน กำหนดหลักเกณฑ์ และตัดสินใจดำเนินนโยบายที่ตอบสนองต่อ ความต้องการของประชาชน 3. คุ้มรวม กำหนดให้สัมภาษณ์ประชาชนตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ในครัวเรือนส่วนบุคคลทั่วประเทศ (ไม่รวม ผู้ที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนที่มีคนงานมาอาศัยอยู่รวมกันในสถานที่ที่นายจ้างจัดหาให้โดยไม่เสียค่ที่พัก รวมทั้งผู้ที่ อาศัยอยู่ในครัวเรือนสถาบัน เช่น เรือนจำ ค่ายทหาร โรงแรม วัด หอพักนักเรียนนักศึกษา เป็นต้น) 4. การเลือกตัวอย่าง ตามเอกสารจากกลุ่มระเบียบวิธีสถิติ กองนโยบายและวิชาการสถิติ โดยใช้ขนาดทั้งสิ้น 12,000 ราย 5. รายการข้อมูลที่เก็บรวบรวม 5.1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบสัมภาษณ์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด การทำงานในปัจจุบัน รายได้ทั้งสิ้นเฉลี่ยต่อเดือน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน และหนี้สินของผู้ตอบสัมภาษณ์ 5.2 นโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท ได้แก่ การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร หลักเกณฑ์เบื้องต้นของนโยบายดิจิทัล 10,000 บาท ความเหมาะสมของหลักเกณฑ์เบื้องต้น ความคิดเห็นในการดำเนินนโยบาย (ได้แก่ งบประมาณ ผลดี/ ผลเสีย และความคิดเห็นในภาพรวม) และข้อเสนอแนะในการดำเนินนโยบาย 6. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และคาบเวลาการปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูล การสำรวจฯ ดำเนินการจัดเก็บข้อมูล 2 วิธีดังนี้ 6.1 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์ประชาชนตัวอย่าง (face to face) ส่งเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน สถิติแห่งชาติ ไปทำการสัมภาษณ์สมาชิกในครัวเรือนตัวอย่างที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศ ครัวเรือนละ 1 ราย ให้กระจายตามเพศ อายุ การศึกษาสูงสุด อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน บันทึกข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผ่า ระบบงานสำรวจด้วยอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้แอปพลิเคชัน ArcGIS Survey 123 ระหว่างวันที่ 4 - 10 ธันวาคม 2566 6.2 เก็บรวบรวมข้อมูลผ่านระบบ online โดยให้ประชาชนตอบแบบสำรวจได้ทางหน้าเว็บไซต์สำนักงา สถิติแห่งชาติ (https://www.nso.go.th) และทางโซเชียลมีเดีย สสช. ระหว่างวันที่ 4 - 15 ธันวาคม 2566 ระยะเวลาดำเนินการ : 4-10 |